เว็บไซต์ E-Commerce คืออะไร ? เว็บอีคอมเมิร์ชที่ดีต้องเป็นแบบไหน ก่อนจ้างทำเว็บไซต์ขายของไม่อ่านไม่ได้ !

หัวข้อบทความที่น่าสนใจ

เว็บไซต์ E-Commerce 

เว็บไซต์ E-Commerce ( อีคอมเมิร์ช ) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบ Website ขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมและมาแรงอย่างมาก ๆ ในยุคนี้ เว็บ E-Commerce นับว่าเป็นช่องทางการขายของออนไลน์ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้ธุรกิจของคุณนั้นเติบโตขึ้น แถมยังเพิ่มความมั่นคงให้กับแบรนด์ของคุณอีกด้วย ในบทความนี้ Mingketar ก็จะมาบอกเล่าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์ E-Commerce ให้ได้อ่านกัน รับรองว่าอ่านจบคุณอาจจะอยากเปลี่ยนใจหันมาทำเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อขายของเลยก็เป็นได้ 

เว็บ E-Commerce คืออะไร

ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่าย ๆ ตามสไตล์ชาวมิง เว็บไซต์ E-Commerce คือ เว็บไซต์ออนไลน์ที่เอาไว้สำหรับซื้อ-ขายสินค้านี่แหละค่ะ โดยจะเป็นเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลสินค้า ข้อมูลแบรนด์ และถ้าทางลูกค้าสนใจซื้อสินค้าของคุณ พวกเขาก็สามารถซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ได้อย่างสะดวก เรียกได้ว่าผู้ใช้สามารถจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยแค่นั่งเก๋ ๆ อยู่บ้านแล้วรอให้สินค้าที่สั่งซื้อมาส่ง ( ซึ่งสะดวกมาก ๆ เพราะไม่ต้องออกเดินทางไปซื้อเอง )

หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพกันอีกสักนิด เว็บไซต์ E-Commerce จะเป็นเหมือน หน้าร้าน ของคุณนั่นแหละ เป็นร้านขายสินค้าที่อยู่บนโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ๆ ในมุมโลก ถ้ามีความสนใจในตัวสินค้านั้น ๆ ก็สามารถคลิกสั่งซื้อได้ทั่วโลก จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าการซื้อ-ขายสินค้าผ่าน เว็บไซต์ E-Commerce นั้นไม่มีข้อจำกัด ไม่มีพรมแดน ต่อให้ขอบน้ำขวางหน้า ขอบฟ้าขวางกั้น ถ้ามี Internet แล้วไซร้ก็เลือกช้อปได้อย่างแน่นอน 

ประเภทของเว็บไซต์ E-Commerce

  • เว็บ E-Commerce B2C ( Business to Customer )
  • เว็บ E-Commerce B2B ( Business to Business )
  • เว็บ E-Commerce B2G ( Business to Government )
  • เว็บ E-Commerce G2G ( Government to Government )
  • เว็บ E-Commerce C2C ( Customer to Customer )
  • เว็บ E-Commerce G2C ( Government to Customer )

เว็บ E-Commerce เหมาะกับธุรกิจแบบไหน

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนขายของออนไลน์ในนามบุคคล หรือจะขายของออนไลน์ในนามบริษัท การทำเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อขายสินค้าก็ถือว่าตอบโจทย์ทั้งคู่ แล้วยิ่งใครที่ทำธุรกิจแบบ B2C ( Business to Customer ) ยิ่งควรมีเว็บไซต์ E-Commerce ออนไลน์เอาไว้ขายของ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเว็บไซต์ E-Commerce จะเหมาะสำหรับทุกคน 

แล้วใครบ้างล่ะ ที่ควรทำเว็บไซต์ E-Commerce ?

  • ผู้ที่มีสินค้าในหมวดหมู่นั้นเยอะ ๆ เช่น ขายสินค้าหมวดหูฟังบลูทูธ แน่นอนเลยว่าหูฟัง Bluetooth นั้นก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่น แบบนี้การทำเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อขายหูฟังบลูทูธจะถือว่าตอบโจทย์อย่างมาก ๆ 

คลิกดูตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีสินค้าในหมวดหมู่นั้นเยอะ ๆ : https://www.munkonggadget.com/ 

  • คนที่ต้องการทำสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง เช่น ต้องการทำแบรนด์ครีมทาผิวต่าง ๆ เหมือนอย่างเว็บไซต์ขายครีม EVE’S นั่นเอง เจ้านี้ก็ทำเว็บไซต์ E-Commerce เอาไว้ขายของเช่นกัน คลิกดูตัวอย่างเว็บไซต์ : https://evesbrand.com/ 

ใครบ้างที่ไม่ควรทำเว็บ E-Commerce ?

  • คนที่ไม่ต้องการสร้างแบรนด์ตัวเองให้เป็นที่รู้จัก
  • คนที่ต้องการยอดขายแบบรวดเร็วชนิดที่เสกได้ภายในเดือนนั้น ๆ

มีสินค้าจำนวนน้อย 1-2 ชิ้นควรทำเว็บไซต์ E-Commerce หรือไม่ ?

ถ้าให้เราแนะนำจริง ๆ ส่วนตัวแล้วคิดว่ายังไม่ควรทำสักเท่าไหร่ เพราะมันคงจะแปลก ๆ น่าดูถ้าลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราแล้วเจอสินค้าในจำนวนน้อย 

ที่นี้ควรทำอย่างไรดีล่ะ ถ้าไม่เหมาะกับเว็บไซต์ E-Commerce ? 

การทำเว็บไซต์หน้าเดียวเป็นแบบ Landing Page เพื่อโชว์สินค้าก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน แถมยังสามารถนำไปยิงโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าของคุณได้อีกด้วย แต่ถ้าอยากทำก็ไม่ว่ากัน ที่เราชาวมิงไม่แนะนำเพราะเป็นความรู้สึกส่วนตัวว่า ‘ มันอาจจะไม่ค่อยคุ้ม ’ สักเท่าไหร่

ทำไมถึงควรทำเว็บไซต์ E-Commerce เมื่อขายของออนไลน์

1.ไม่ต้องเปิดหน้าร้านแบบสมัยก่อน

สมัยนี้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเปิดหน้าร้านแบบการขายของสมัยก่อน เพราะเว็บ E-Commerce จะโชว์สินค้าบนเว็บแบบออนไลน์ อยากรู้ข้อมูลตอนไหนก็แค่เข้าดู ( แต่บางธุรกิจที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ก็อาจจะต้องเปิดหน้าร้านควบคู่ไปด้วย เช่น ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ )

2.ช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายได้มากขึ้น

เว็บไซต์ E-Commerce ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ซื้อสินค้าได้ ( ถ้ามี Internet ) แถมยังสั่งซื้อได้ทุกเวลาตามที่ต้องการไม่เว้นวัน​​ศุกร์หรือเสาร์หรือว่าอาทิตย์ ไม่มีวันไหนไม่คิดถึง 😁 

3.ง่ายต่อการทำการตลาดออนไลน์

สามารถทำการตลาดออนไลน์เพื่อโปรโมทสินค้าของคุณได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเติบโตในระยะยาว การทำการตลาดออนไลน์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลของคนที่เข้ามายังเว็บไซต์ E-Commerce ของเราได้อีกด้วย เรียกได้ว่ามีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว

4.ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย

เว็บ E-Commerce ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารจัดการได้ เช่น ลดค่าเช่าที่มาจากการเช่าพื้นที่เปิดหน้าร้าน สามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในด้านอื่น ๆ แทนได้ เช่น การทำโฆษณาออนไลน์แทน

5.โฟกัสลูกค้าได้ทุกจุดมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์ E-Commerce มีส่วนช่วยให้ทีมงานขายของคุณไม่ต้องทำงานหนักชนิดที่ว่าต้องตอบลูกค้าทุกเคส เพราะถ้ามีข้อมูลที่ครบถ้วน ตอบข้อสงสัยของลูกค้าได้ งานของทีมงานขายของคุณก็จะเบาลง ทำให้พวกเค้ามีเวลาไปโฟกัสลูกค้าที่เกิดปัญหาจริง ๆ ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

Check List เว็บไซต์ E-Commerce ที่ดี ต้องเป็นแบบไหน

1.หน้าเว็บ E-Commerce ต้องดูดี สวยงาม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกค่อนข้างมาก ถ้าอยากให้ลูกค้าของคุณประทับใจทันทีที่เข้ามายังเว็บไซต์ การทำเว็บ E-Commerce จำเป็นอย่างมากที่จะต้องออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใช้งาน ดูดี สวยงาม ที่สำคัญ คือ เว็บ E-Commerce ต้องมีระบบการใช้งานที่ง่าย ไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสน มึนงง เมื่อใช้งานเว็บไซต์ของคุณ

2.มีข้อมูลสินค้าชัดเจน ครบถ้วน

ข้อมูลสินค้า ก็เปรียบเสมือนกับสินค้าจริง ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่หน้าร้าน ฉะนั้นแล้วข้อมูลสินค้าที่แสดงจะต้องมีข้อมูลชัดเจน อ่านง่าย ครบถ้วน และสิ่งที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด คือ ภาพสินค้า ต้องสวยงาม คมชัดเสมอ

3.มีระบบจัดการหลังบ้านที่ใช้งานง่าย

เว็บไซต์ E-Commerce สามารถทำผ่านระบบต่าง ๆ ได้มากมาย แต่ที่ได้รับความนิยม ก็คือ WooCommerce เพราะสามารถติดตั้ง ตั้งค่าผ่านระบบ WordPress ได้อย่างสะดวก ลงข้อมูลสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีการแจ้งเตือนเมื่อลูกค้าสั่งซื้อเข้ามา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่งฟังก์ชันต่าง ๆ เข้าไปได้อีกด้วย เช่น ระบบการแจ้งชำระเงิน การแจ้งเตือนออเดอร์ผ่าน Line Notify ฯลฯ

4.ขั้นตอนสั่งซื้อต้องชัดเจน ใช้งานง่าย

ในการทำเว็บ E-Commerce ต้องออกแบบ Process ให้ดี ๆ ว่าถ้าลูกค้าสั่งซื้อแล้ว Step ต่อไปจะนำทางไปที่หน้าไหน และลูกค้าเจอกับอะไร เพราะการสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บ E-Commerce จะต้องมีขั้นตอนการสั่งซื้อที่สะดวก ใช้งานง่ายที่สุด แบบนี้.. จะทำให้ลูกค้าไม่งง 

ถ้าให้เปรียบเทียบง่าย ๆ มันก็เหมือนกับการที่เราไปซื้อของที่ห้างนั่นแหละ ถ้าห้างนั้น ๆ บอกหมวดหมู่สินค้าที่เราจะซื้อไม่ถูกว่าอยู่ตรงไหน ต้องเดินไปทางไหน หยิบของแล้วไปจ่ายเงินที่ไหน เป็นเราก็คงไม่อยากจะกลับมาซื้อกับร้านนี้อีกจริงมั้ยล่ะคะ ?

5.มีระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย

เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ระบบเว็บ E-Commerce ของคุณควรมีระบบการรับชำระเงินที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ที่แน่ ๆ ควรมีการชำระเงินแบบเก็บปลายทาง, ตัดบัตรเดบิต/เครดิต, โอนเงินผ่านธนาคาร, ชำระผ่าน QR Code, Internet Banking ฯลฯ

6.ต้องรองรับการทำการตลาดออนไลน์

ต่อให้เว็บ E-Commerce ที่คุณไปจ้างมาจะสวยงามอันดับ 1 ของโลก แต่ถ้าตัวเว็บไม่รองรับการทำการตลาดออนไลน์ก็หาได้มีประโยชน์ไม่ แบบนั้นคุณจะทำเว็บมาให้ใครเห็น แล้วใครจะมาซื้อสินค้ากับคุณล่ะ ?

ยิ่งเว็บไซต์ E-Commerce รองรับการทำ SEO ( Search Engine Optimization ) ด้วยก็จะยิ่งดีมาก ๆ เพราะจะช่วยทำให้คนเจอเว็บไซต์ของคุณเมื่อพวกเค้าค้นหาความต้องการบน Google หากเว็บไซต์ขายสินค้า E-Commerce ของคุณติดหน้าแรกบน Google จะดีแค่ไหนกันเชียว ? ที่แน่ ๆ คือจะมี ( ว่าที่ ) ลูกค้าเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

เว็บ E-Commerce ระบบ WooCommerce

WooCommerce เป็น Plugin สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการทำเว็บขายของแบบ E-Commerce ผ่านระบบ WordPress ซึ่งผู้เริ่มต้นสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้แบบฟรี ๆ แต่หากต้องการฟังก์ชันการใช้งานที่สูงขึ้น ก็สามารถจ่ายเงินเพื่ออัพเกรดความเทพของปลั๊กอินตัวนี้ได้ ( แต่ขอบอกเลยว่าแค่ตัวฟรีก็จ๊าบแล้วค่า 👍🏻 )

📍 พิกัด Download Plugin WooCommerce : ​​https://th.wordpress.org/plugins/woocommerce/ 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจ้างทำเว็บ E-Commerce 

  • ผู้ว่าจ้างควรมีความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ ไม่ต้องมีเยอะจนถึงขั้นสร้างเว็บเองได้หรอกค่ะ อย่างน้อย ๆ แค่พูดคุยกับคนทำเว็บรู้เรื่องก็พอ เช่น รู้จักหน้า Post, Page, Category ว่าคืออะไร ?
  • ต้องวางแผนให้ดีว่าจะขายสินค้าหมวดหมู่ไหนบ้าง และแต่ละหมวดจะมีสินค้าชนิดไหน
  • เตรียมข้อมูลสินค้า + ภาพประกอบสำหรับลงเว็บให้พร้อม ยิ่งเป็นภาพประกอบที่ผ่านการตกแต่งมาแล้วยิ่งดี เพราะจะทำให้เว็บ E-Commerce ที่จ้างทำเสร็จไวขึ้น เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลามานั่งไดคัทภาพ ตกแต่งภาพ หรือมานั่งคิดข้อมูลชุดใหม่เพื่อไม่ให้ซ้ำกับข้อมูลของคนอื่น ถ้ามีการเตรียมพร้อมดีแบบนี้จะช่วยทำให้คุณเซฟราคาค่าทำเว็บไซต์ E-Commerce ไปด้วย
  • เว็บไซต์ E-Commerce เป็นช่องทางการขายอีกหนึ่งช่องทาง ไม่ควรคาดหวังว่ายอดขายทั้งหมดจะมาจากทางเว็บไซต์อย่างเดียว จนลืมไปโฟกัสช่องทางอื่น ๆ เช่น ระบบการจัดการหลังบ้าน ระบบการขาย รวมถึงต้องหมั่นพัฒนาสินค้าของตนเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าอยู่เสมอด้วย
  • ก่อนตัดสินใจทำเว็บ E-Commerce ต้องเช็คให้ดีว่าสินค้านั้น ๆ เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีลูกค้าบางท่านที่เคยมาให้เราชาวมิงช่วยทำเว็บไซต์ + ดูแลการทำ SEO รายเดือนให้ จนมียอดคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แถมยังมีอัตราการคลิกติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเยอะมาก แต่น่าเสียดายที่ลูกค้าท่านนั้นเลือกสินค้าที่ไม่ใช่ความต้องการของตลาดมาขาย ทำให้มีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าด้วยน้อยมาก ๆ เพียงแค่ประมาณ 10% เท่านั้น

เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ความต้องการของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Yuwell, ChoiceMed ฯลฯ มีความต้องการอย่างมาก แต่คุณเลือกที่จะขายสินค้าแบรนด์อื่น ๆ ที่คนยังไม่รู้จัก แบบนี้.. ก็มีโอกาสที่จะขายได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลามากกว่าคนอื่นพอตัว

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการอีคอมเมิร์ช ที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง

เว็บ E-Commerce ต่างประเทศ

เว็บ E-Commerce ในประเทศไทย

สร้างเว็บไซต์ E-Commerce เอง หรือ จ้างคนอื่นทำดีกว่ากัน

ถ้าคุณมีเวลาศึกษา เรียนรู้ และลงมือทำ แน่นอนเลยว่าคุณก็สามารถสร้างเว็บ E-Commerce ด้วยตัวเองได้ แต่แหมมมมม.. แค่ขายของ แพ็คของ ส่งของ บริหารจัดการกับระบบภายในก็วุ่นวายอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะคะ ? ถ้าต้องเจียดเวลามานั่งทำเว็บ E-Commerce ขายของเอง คงจะลำบากน่าดู แต่ถ้าใครทำได้ฝากมากระซิบบอกทีนะคะ เราอยากรู้จริง ๆ ( อันนี้ไม่กวน แค่อยากรู้วิธีการบริหารเวลาของคุณ ว่าทำยังไง 😘 )

ส่วนการจะจ้างบริษัทรับทำเว็บ E-Commerce ให้มาช่วยดูแล จะช่วยให้คุณไม่ต้องเหนื่อยลงมือทำเอง คุณอาจจะแค่เหนื่อยวางแผน กับเตรีมข้อมูลเท่านั้น แต่ถ้าจะจ้างให้คนอื่นทำเว็บไซต์ขายของ E-Commerce คุณควรที่จะมีความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำระบบ E-Commerce สักเล็กน้อย ไม่ต้องเข้าใจทั้งหมดก็ได้ ขอแค่สัก 10%-20% ก็ยังดี เพราะมันจะทำให้คุณเข้าใจภาพรวมของคนทำงานมากยิ่งขึ้น

และถ้าจะจ้างคนทำเว็บ E-Commerce ก็ควรเลือกผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ให้คำแนะนำตามจริงไม่ใช่ว่าเสนอแพ็คเกจทำเว็บ E-Commerce แบบขูดเลือดโดยไม่พิจารณาตามภาพจริง ๆ ยังไงก็อยากให้ลองพูดคุยกับผู้ว่าจ้างก่อนทำกันจริง ๆ

error: Content is protected !!